วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Piaggio กลับมาทดสอบอากาศยานไร้คนขับ Hammerhead อีกครั้ง

Piaggio กลับมาทดสอบอากาศยานไร้คนขับ Hammerhead อีกครั้ง

Piaggio กลับมาทดสอบอากาศยานไร้คนขับ Hammerhead อีกครั้งหลังจากประสบอุบัติเหตุในการทดสอบเมื่อปีที่แล้ว โดยการทดสอบบินในครั้งนี้เป็นการนำตัวทดสอบตัวใหม่ออกมาทำการบินเพื่อทดสอบ เริ่มทำการบินทดสอบเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำการบินที่สนามบิน Birgi Military Airport ในประเทศอิตาลี

การบินทดสอบในครั้งเกิดขึ้นเพื่อเป็นการทดสอบเพื่อให้เกิดความพร้อมของระบบทั้งหมดของอากาศยานหลังจากที่มีการเซ็นสัญญาระหว่างบริษัทกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สำหรับสัญญาการซื้อขายอากาศยานไร้คนขับ Hammerhead จำนวน 8 ลำเมื่อปี 2016 ซึ่งมีมูลค่าการจัดหาในครั้งนั้นกว่า 316 ล้านยูโร

อากาศยานไร้คนขับ P.1HH HammerHead

อากาศยานไร้คนขับ Hammerhead เป็นรุ่นอากาศยานไร้คนขับที่มีการใช้บนพื้นฐานของเครื่องบินพาณิชย์รุ่น Piaggio’s P180 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ทางกองทัพอากาศของไทยนั้นได้สั่งซื้อจากบริษัทเดียวกันเพื่อมาประจำการในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศด้วยเช่นกัน 
เครื่องบินพาณิชย์ Piaggio’s P180


โดยเครื่องบิน Piaggio’s P180 นั้นเป็นเครื่องบินพาณิชย์แบบเครื่องยนต์ใบพัด 2 เครื่องยนต์ใบพัดด้านหลัง บริเวณด้านหน้าตัวเครื่องมีคาร์นาร์ด มีใช้งานใน 5 ประเทศได้แก่ บัลแกเรีย แคนาดา อิตาลี โปแลนด์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ทางบริษัท Piaggio มีกำหนดส่งมอบอากาศยานไร้ขับ Hammerhead ลำแรกให้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปี 2018 

ขอขอบคุณที่มาของข่าว http://www.defensenews.com/articles/back-on-track-testing-of-piaggio-hammerhead-uavs-resumes-a-year-after-crash

RFI สำหรับโครงการจัดหาเรือฟริเกตแบบใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐ

RFI สำหรับโครงการจัดหาเรือฟริเกตแบบใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐ

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านได้มีการเปิดเผยถึง RFI ฉบับใหม่ที่อธิบายถึงคุณลักษณะของเรือในโครงการจัดหาเรือฟริเกตแบบใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐหรือโครงการ FFG(X) ซึ่งคุณสมบัติตามที่กองทัพเรือต้องการนั้นสามารถปรับเปลี่ยนไปตามภารกิจต่างๆได้ซึ่งทำให้ออกมาเป็นแบบเรือ 2 แบบซึ่งก็ทรงเรือ LCS ทั้ง 2 แบบซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย Lockheed Martin และ Austal USA โดยการกำหนดคุณลักษณะเรือออกมานั้นเป็นดังนี้


LCS-1 USS Freedom ต่อโดยบริษัท Lockheed Martin


LCS-2 USS Independence ต่อโดยบริษัท Austal USA 

ความสามารถในการรับภารกิจหลากหลายรูปแบบดังนี้
-ทำลายเรือผิวน้ำข้าศึกในระยะพ้นของฟ้า
-ป้องกันเรือดำน้ำข้าศึก
-ป้องกันเรือลำเลียง
-ใช้ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแบบ Active และ Passive
-ป้องกันการโจมตีโดยเรือขนาดเล็ก

นอกจากนี้กองทัพเรือสหรัฐยังกำหนดความสามารถเพิ่มอีกหลายอย่าง ได้แก่
-เรดาห์แบบ Phased-Array Radar
-Aegis Combat system
-รองรับเฮลิคอปเตอร์แบบ MH-60R จำนวน 1 เครื่อง
-อาวุธนำวิธีระยะยิงเกินขอบฟ้า
-ระบบป้องกันระยะประชิด SeaRAM
-อากาศยานไร้คนขับ MQ-8C Firescout



กองทัพเรือสหรัฐมีกำหนดที่จะเซ็นสัญญาสำหรับเรือลำแรกที่จะต่อในปี 2020 และลำที่สองในปี 2021 และหลังจากนั้นจะเริ่มต่อจำนวน 2 ลำต่อปี โดยความต้องการของกองทัพเรือสหรัฐกำหนดความต้องการไว้ทั้งหมด 52 ลำซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรือในตระกูล LCS 

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก FFG(X) 2020 RFI
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก http://www.defensenews.com/articles/us-navy-releases-specs-for-a-proposed-guided-missile-frigate-a-break-from-the-littoral-combat-ship

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

TAI และ PTDI ลงนามความความร่วมทางยุทธศาสตร์

TAI และ PTDI ลงนามความความร่วมทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน

TAI( Turkish Aerospace Industries) บริษัทผลิตอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของตุรกีได้ประกาศถึงการลงนามข้อตกลงทางยุทธศาสตร์ร่วมกับ PTDI ( PT. Dirgantara Indonesia (DI) บริษัทผลิตอากาศยานของอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของไทยในอาเซียนนั่นเองเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 โดยการลงนามในความร่วมทางยุทธศาสตร์ระยะยาวระหว่างทั้งสองบริษัทนี้นั้นเกิดขึ้นที่งาน the International Defence Industry Fair ณ เมือง อิสตันบลู ประเทศตุรกีซึ่งเป็นงานจัดแสดงอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดงานนึงของตุรกีเลยก็ว่าได้ งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 พฤษภาคมที่ผ่านมา 

โดยที่ภายใต้ข้อตกลงนี้จะทำให้ TAI ของตุรกีจะสามารถเข้ามาพัฒนาเครื่องบินลำเลียงขนาด 50 ที่นั่งรุ่น N-245 และยังร่วมไปถึงการที่ทาง TAI จะช่วยส่งเสริมการตลาดให้กับเครื่องบินลำเลียงรุ่น N-219 ของ PTDI อินโดนีเซียด้วยเช่นกัน การลงนามในข้อตกลงครั้งนี้นั้นได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ และนอกเหนือข้อตกลงต่างๆที่ประกาศออกมาแล้วนั้นทาง TAI ยังได้พูดถึงการมีโอกาสที่จะมีการพัฒนาแพลตฟอร์มของ N-245,N-219 ให้มีการพัฒนาขึ้นไปด้วยอีกเช่นกัน 

PTDI บริษัทอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ โดยมีโครงการต่างๆมากมายทั้งการผลิตภายใต้ใบอนุญาติรวมไปถึงการนำเอาความรู้จากการผลิตเครื่องบินตระกูล CN-212,CN-235 มาเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาเครื่องบินขึ้นเองอย่าง N-219,N-245 


เครื่องบินลำเลียง N-219 
ที่มา : http://www.thejakartapost.com/longform/2016/08/16/n-219-propelling-indonesias-aerospace-industry.html


โมเดลจำลองเครื่องบิน N-245 
ที่มา : http://www.ainonline.com/aviation-news/air-transport/2016-11-09/indonesias-latest-regional-airliner-project-taking-shape

TAI หรือ Turkish Aerospace Industries บริษัทอากาศยานที่ใหญ่สุดของตุรกี มีทั้งการผลิตภายใต้สิทธิบัตรอย่างมากมายทั้ง เฮลิคอปเตอร์โจมตี อากาศยานไร้คนขับ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง รวมไปถึงดาวเทียมด้วยเช่นกัน 


เครื่องบินฝึกและโจมตีเบา Hürkuş
 ที่มา : 
https://en.wikipedia.org/wiki/TAI_H%C3%BCrku%C5%9F#/media/File:TAI,_TC-VCH,_TAI-HURKUS-A_(34839092714).jpg



เฮลิคอปเตอร์โจมตี T-129 ATAK 
ที่มา : http://www.russiadefence.net/t5423-t-129-atak

ขอขอบคุณที่มาของข่าว 




สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1 BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1   BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ BrahMos                  Brah...