วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1 BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่

ตอนที่ 1  BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ

BrahMos 


                BrahMos (กำหนดชื่อรหัสเป็น PJ-10) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลางที่สามารถทำการยิงได้จากทั้ง เรือดำน้ำ เรือผิวน้ำ อากาศยานหรือแม้กระทั่งฐานยิงบนบก เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำที่เร็วที่สุดในโลก เป็นผลงานร่วมกันระหว่าง NPO Mashinostroyeniya องค์กรของสหพันธรัฐรัสเซีย และองค์การวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศอินเดีย (DRDO) ซึ่งมีการจัดตั้ง BrahMos Aerospace ขึ้นด้วยเพื่อรองรับในการพัฒนาเจ้า BrahMos โดยเฉพาะ

                Brahmos มีพื้นฐานมาจากอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ P-800 Oniks และรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีด้านอื่นๆจากรัสเซียเข้ามาช่วยในการพัฒนา โดยชื่อ Brahmos นั้นเป็นชื่อที่มาจากการนำชื่อของแม่น้ำสองสายคือ Brahmaputra (พรหมบุตร) ของอินเดียและ Moskva ของรัสเซีย มารวมกันจนเกิดเป็นชื่อ Brahmos

P-800 Yakhont
                Brahmos จัดว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำเร็วที่สุดในโลกที่อยู่ในประจำการเรียบร้อยแล้ว ตัว BrahMos นั้นมีความเร็วสูงถึง 2.8 ถึง 3.0 Mach ซึ่งปัจจุบันทาง BrahMos Aerospace กำลังเตรียมอัพเกรดให้มีความเร็วสูงถึง Mach 5.0 ต่อไป ซึ่งในตอนนี้นั้น Brahmos ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถทำการยิงจากเรือผิวน้ำและฐานยิงบนได้แล้ว และ BrahMos สำหรับยิงจากอากาศยานนั้นกำลังพัฒนาอยู่โดยให้มีความเสถียรที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทำรุ่นสำหรับยิงจากเรือดำน้ำซึ่งกำลังพัฒนาและทำการทดสอบอยู่เป็นระยะๆ ภายในประเทศอินเดียครับ
นอกเหนือไปกว่านั้น ในตอนนี้เมื่อช่วงปลายปี 2017 ที่ผ่านมาได้มีการกล่าวถึงการพัฒนา BrahMos II โดยจะเป็นรุ่นที่ทำการยิงจากอากาศยานโดยจะมีความเร็วสูงถึง 7-8 Mach และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการทดสอบภายในปี 2020

                อินเดียต้องการให้ BrahMos นั้นมีความสามารถพื้นฐานเทียบเท่าหรือสูงกว่า P-700 Granit ซึ่งตัวเครื่องยนต์ของ BrahMos นั้นจะใช้เครื่องยนต์แบบ Ramjet จากทางรัสเซีย และในส่วนหัวรบและระบบนำวิถีนั้น BrahMos Aerospace จะเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ของซึ่งตลอดโครงการภายใต้ความร่วมมือกับทางรัสเซียนั้นคาดว่าจะมีตัวเลขมูลค่าการสั่งซื้อตลอดโครงการสูงถึง 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว


ข้อมูลของระบบป้องกันชายฝั่งแบบ  Bastion-P  ที่ใช้จรวดแบบ P-800 Oniks

                และเมื่อปี 2016 อินเดียและรัสเซียกำลังวางแผนที่จะร่วมกันพัฒนา Brahmos รุ่นใหม่ที่มีระยะยิงไกลถึง 600 กม. ซึ่งรวมไปถึงการจะพัฒนาให้มีความสามารถในการทะลวงระบบป้องกันของเป้าหมายอีกด้วย ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่จะนำไปสู่ 1 ในสุดยอดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำกันเลยทีเดียว

                โดยมีญาติของเจ้า BrahMos คือ อาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล P-800 Oniks หรือชื่อในวงการสำหรับการส่งออกก็คือ Yakhont ซึ่งก็แทบจะเรียกว่าเป็นฝาแฝดเลยก็ได้นะครับ เพราะรูปร่างและระบบต่างๆแทบไม่แตกต่างกันเลยครับ ซึ่งมันถูกนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเจ้า BrahMos แต่สำหรับทางรัสเซียจะมีรุ่นสำหรับฐานยิงบนบกที่มีไว้ใช้สำหรับหน่วยป้องกันชายฝั่งคือ Bastion-P และยังมีรุ่นสำหรับยิงจากอากาศยานคือ KH-61 ด้วยอีกครับ เรียกได้ว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีความยืดหยุ่นและมีความสามารถในการยิงได้จากหลายรูปแบบ
ปล. แต่อย่าลืมนะครับว่าลูกจรวดที่ใช้ยิงจากแต่ละแบบนั้นมีความแตกต่างกันนะครับ ไม่สามารถเอามายำรวมกันได้นะครับ

INS Rajput ของกองทัพเรืออินเดียทำการทดสอบยิง BrahMos

[จุดเริ่มต้น]

                BrahMos เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านการป้องกัน (DRDO) ของอินเดียและ NPO Mashinostroyeniya (NPOM) ของรัสเซีย โดยพัฒนาร่วมกันในฐานะ BrahMos Aerospace ผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐบาล บริษัท BrahMos Aerospace ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1998 โดยมีทุนจดทะเบียน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ อินเดียถือหุ้น 50.5% มีส่วนร่วมในการลงทุนครั้งแรกอยู่ที่ 126.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รัสเซียถือหุ้น 49.5% โดยมีส่วนแบ่งการลงทุนในครั้งแรกอยู่ที่ 123.75 ล้านเหรียญสหรัฐ

                ตั้งแต่ปลายปี 2003  ตัว BrahMos ก็ได้เริ่มการทดสอบการยิงจากฐานยิงหลากหลายรูปแบบ โดยมีการทดสอบในทะเลทรายซึ่งห่างไกลจากผู้คน ซึ่งภายในสนามทดสอบนั้นมีทั้งการทดสอบ BrahMos รุ่นพื้นสู่พื้น (Ground to Ground) และยังมีการใช้ทะเลทรายพื้นที่ทดสอบดังกล่าวในการทดสอบรุ่นที่ทำการยิงจากเรือผิวน้ำเข้าโจมตีเป้าหมายบนฝั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งสนามทดสอบดังกล่าวคือ PoKhran ซึ่งแต่ก่อนสนามทดสอบนี้เคยเป็นสสนามทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ของอินเดียด้วยครับ

                Keltec (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น BrahMos Aerospace Trivandrum Ltd หรือ BATL) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของอินเดีย ได้ถูกซื้อและควบรวมกิจการโดย BrahMos Cooperation ในปี 2008 ซึ่งการที่ Keltec ถูกซื้อและควบรวมกิจการไปนั้นก็เพื่อจะถูกนำไปลงทุนเพิ่มเติมโดย BrahMos Corp. เพื่อใช้เป็นฐานในการผลิตชิ้นส่วนของของตัวจรวด BrahMos ซึ่งแต่เดิมนั้นชิ้นส่วนกว่า 65% ของ BrahMos จะถูกสร้างขึ้นในรัสเซีย โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์และระบบนำวิถี จนกระทั่งในช่วงหลังที่ผ่านมานั้นได้มีการปรับสัดส่วนการผลิตใหม่ โดยในปัจจุบันมีชิ้นส่วนกว่า 65% แล้วที่ถูกสร้างและประกอบภายในอินเดียเอง และได้มีแผนการวางไว้ในอนาคตว่า อินเดียจะต้องมีสัดส่วนในการผลิตชิ้นส่วนให้ได้ถึง 85% โดยจะใช้ชิ้นส่วนที่ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทภายในประเทศอินเดียเองครับ   

BrahMos รุ่นสำหรับทำการยิงจากอากาศยาน

[ข้อมูลโดยรวม]
ชื่อ : BrahMos
ประเภท : อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ/ อาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีภาคพื้นดิน
ประเทศผู้ผลิต : อินเดีย / รัสเซีย
เข้าประจำการ : พฤศจิกายน 2006
ผู้ผลิต : BrahMos Aerospace Limited (บริษัทร่วมทุนอินเดีย-รัสเซีย)
ราคา/นัด : ประมาณ 2.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/นัด

รถฐานยิง Brahmos ของกองทัพบกอินเดีย

[คุณลักษณะ]
น้ำหนัก : 3,000 กิโลกรัม (6,600 ปอนด์) / 2,500 กิโลกรัม (5,500 ปอนด์) สำหรับรุ่นที่ทำการติดตั้งสำหรับอากาศยาน
ความยาว : 8.4 เมตร (28 ฟุต)
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 0.6 ม. (2.0 ฟุต)
ขนาดหัวรบ : 200 กิโลกรัม (440 ปอนด์) สามารถติดตั้ง หัวรบธรรมดา/ เจาะเกราะ/ นิวเคลียร์ และ หัวรบขนาด 300 กิโลกรัม (660 ปอนด์) สำหรับรุ่นปล่อยจากอากาศยาน
เครื่องยนต์ : 1st Stage ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง 2nd Stage ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวแบบ Ramjet
พิสัยทำการยิง : ระยะยิงไกลสุด 450 กิโลเมตร และมีแผนจะปรับปรุงให้สามารถทำการยิงได้ไกลสุด 600 กิโลเมตร
พิสัยทำการยิง (จากอากาศยาน) : ระยะยิงไกลสุด 400 กิโลเมตร
เพดานบินสูงสุด : 46,000 ฟุต (14 กิโลเมตร)
เพดานบินต่ำสุดเมื่อใช้การบินเรี่ยผิวน้ำ : 3-5 เมตร
ความเร็ว 2.8 – 3 มัค  (3,400-3,700 กม./ชม. 2,100-2,300 ไมล์/ชั่วโมง)
ระบบนำวิถี : GPS / GLONASS / GAGAN และ INS
ค่าความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมาย (CEP) : 1 เมตร


[ประเทศผู้ใช้งานในปัจจุบัน]

                อินเดีย : ทำการติดตั้ง BrahMos บนเรือฟริเกต และเรือพิฆาตของกองทัพเรืออินเดียจำนวนหลายลำด้วยกัน ในปัจจุบันมีเรือทั้งหมด 5 ชั้นของอินเดียที่ได้รับการติดตั้ง BrahMos เรียบร้อยแล้ว

                                - กองทัพเรืออินเดีย
                                                - Rajput-class destroyersINS Rajput มีแท่นยิง BrahMos แบบ 4 นัดจำนวน 2 แท่นยิง
                                                                                          INS Ranvir และ INS Ranvijay ติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง (VLS) สำหรับ BrahMos 1 แท่นมี 8 ท่อยิง
                                                - Talwar-class frigate – เรือจำนวน 3 ลำล่าสุด ได้แก่ INS Teg, INS Tarkash, INS Trikand ติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง (VLS) สำหรับ BrahMos 1 แท่นมี 8 ท่อยิง บริเวณหัวเรือ
                                                - Shivalik-class frigate – เรือทั้ง 3 ลำในชั้นนี้ ติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง (VLS) สำหรับ BrahMos 1 แท่นมี 8 ท่อยิง บริเวณหัวเรือเช่นกัน
                                                - Kolkata-class destroyer – เรือทั้ง 3 ลำในชั้นก็ติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง (VLS) สำหรับ BrahMos บริเวณหัวเรือเช่นกัน เพียงแต่มีความแตกต่างออกไปเพียงนิดหน่อยคือมี 2 แท่นหรือ 16 ท่อยิงนั่นเอง        
                                                - Visakhapatnam-class destroyer – เรือพิฆาตรุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพเรืออินเดีย โดยกองทัพเรืออินเดียมีแผนที่จะต่อเรือชั้นนี้ขึ้นมาทั้งหมดจำนวน 4 ลำ โดยทั้ง 4 ลำทางกองทัพเรืออินเดียก็มีแผนที่จะทำการติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง (VLS) สำหรับ BrahMos เช่นกัน โดยจะทำการติดตั้งทั้งหมด 2 แท่นหรือ 16 ท่อยิงบริเวณด้านหน้าของเรือเช่นเดียวกับเรือพิฆาตชั้น Kolkata นั่นเอง

BrahMos รุ่นฐานยิงบนบกขณะสวนสนาม

แท่นยิง BrahMos แบบชัดๆ เน้นๆ 

                                - กองทัพบกอินเดีย : กองทัพบกได้นำ BrahMos เข้าประจำการในปี 2007 โดยเป็น BrahMos Block I หรือรุ่นแรกนั่นเอง โดยตอนนี้มี BrahMos เข้าประจำการแล้ว 3 กรม
                                                - กรมทหารที่ 861 ใช้งาน BrahMos Block I โดยมีรถยิงจำนวน 5 คัน
                                                - กรมทหารที่ 862,863 ใช้งาน BrahMos Block II โดยแต่ละกรมจะมีรถยิงอยู่กรมละ 4-6 กองพัน และรวมแล้วแต่ละกรมจะมี BrahMos อยู่ 72 นัดต่อ 1 กรม
                                โดยที่กรมทหารทั้ง 3 นั้นจะสังกัดอยู่กับกองพลทหารปืนใหญ่ที่ 40th และ 41st  และล่าสุดได้มีการจัดตั้งกรมทหารที่ 864 ซึ่งจะเป็นกรมที่ได้ใช้งาน BrahMos Block III รุ่นล่าสุด

BrahMos ขณะทำการยิงทดสอบจากแท่นยิงบนบก
                รัสเซีย : กองทัพรัสเซียมีแผนการเกี่ยวกับการนำ BrahMos เข้าประจำการใน 2 ส่วน ได้แก่
                                - กองทัพเรือรัสเซีย : เคยมีข้อมูลแบบไม่เปิดเผยที่มากล่าวว่าอาจจะมีการนำ BrahMos ไปทำการติดตั้งบนเรือฟริเกตสุดล้ำอย่าง Project 22350 Admiral Gorshkov-class แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลใดออกมาเพิ่มเติมแต่อย่างไร
                                - กองทัพอากาศรัสเซีย : มีการเปิดเผยออกมาว่ากองทัพอากาศรัสเซียมีความสนใจที่นำ BrahMos รุ่นยิงจากอากาศยานไปทำการติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศแบบ Su-30SM เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำการรบและโจมตีเรือรบและเป้าหมายภาคพื้นดิน

Su-30MKI ของอินเดียทำการทดสอบยิง BrahMos 

[วิเคราะห์]
จากข้อมูลที่ได้อ่านกันไปข้างบนคงเห็นภาพอย่างชัดเจนแล้วว่าเจ้า BrahMos นั้นน่ากลัวมากขนาดไหนสำหรับเรือผิวน้ำสมัยนี้นะครับ ด้วยความเร็วที่แตะ 3 มัค เข้าไปแล้วนั้น ยังแบกหัวรบขนาด 200 กิโลกรัมที่เมื่อรวมกับความเร็วแล้วจะทำให้เกิดพลังงานจลน์มหาศาลแน่ๆเมื่อปะทะเข้าตัวเรือที่เป็นเป้าหมาย และสิ่งสำคัญเลยที่ทำให้เจ้า BrahMos น่ากลัวเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีกก็คือระยะยิงที่สามารถยิงได้ไกลสุดถึง 450 กม. สำหรับรุ่นยิงจากเรือผิวน้ำ และระยะยิงไกลถึง 400 กม.สำหรับรุ่นยิงจากอากาศยาน ด้วยทั้งหมดทั้งมวลทีได้อ่านกันไปก็แสดงถึงความเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆ ของเรือผิวน้ำในยุคหน้าอย่างแน่นอนครับ

ส่วนตอนต่อไปของจะเป็นอาวุธปล่อยรุ่นไหนก็ต้องรอติดตามกันต่อไปนะครับ

ขอขอบคุณ 

ข้อมูล :
รูปภาพ :

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

T-14 Armata สุดยอดรถถังจากรัสเซีย

T-14 Armata รถถังหลักของรัสเซียที่มีความทันสมัยที่สุดในขณะนี้

รถถัง ตั้งแต่ปี1945หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้สงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มขึ้นจากการแย่งชิงประเทศเยอรมันจนถูกแบ่งเป็นเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก ตั้งแต่นั้นมาสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นคู่แข่งกันมาโดยตลอดจนกระทั่งสหภาพโซเวียตได้ล่มสหลายการแข่งขันด้านเทคโนโลยีก็ยังคงดาเนินต่อไประหว่าง รัสเซียและสหรัฐอเมริกา M-60 VS T-72, M1A2 VS T-90 จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัว M1A2 SEP V.3 ออกมาทางรัสเซียจึงไม่น้อยหน้าออกรถถังใหม่ที่มีชื่อว่า T-14 Armata



ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/T-14_Armata#/media/File:9may2015Moscow-01.jpg

T-14 Armata (ภาษารัสเซีย T-14 «Армата» ชื่อในโรงงานผลิต “Obyekt 148”) คือรถถังหลักรุ่นถัดไปหรือ Next Generation โดยอิงพื้นฐานมาจาก Armata Universal Combat Platform ถูกผลิตขึ้นเป็นชุดแรก ซึ่งเดิมทีทางกองทัพรัสเซียมีแผนที่จะสั่งซื้อ T-14 จานวน 2,300 คันในช่วงปี 2015 – 2020 


T-14 ชุดแรกจำนวน 100 คันจะถูกนำไปประจาการในหน่วย Taman Division (2nd Guards Motor Rifle "Tamanskaya" Division named after M.I. Kalinin) คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2020 และจะถูกส่งมอบหลังจากทำการทดสอบทั้งหมดเสร็จสิ้น 


T-14 มีความแปลกใหม่ที่สำคัญที่สุดคือป้อมปืนไร้พลขับ พลประจำรถทั้งสามนาย (ผู้บัญชาการ, พลขับและพลยิง) จะนั่งอยู่ในแคปซูลหุ้มเกราะด้านหน้าของตัวถัง ซึ่งได้รับการพัฒนามาตลอด 5 ปี 


Armata เป็นรถถังใหม่ที่ดีไซน์ใหม่ทั้งหมด เป็นตัวแทนแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบรรดายานหุ้มเกราะโจมตี ในค่ายรัสเซียที่เคยมีการสร้างออกมา นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่ารถถังตระกูล T-72 ทำให้ T-14 มีขนาดที่ใกล้เคียงกับ Leopard 2A7 ของเยอรมนี 


จุดเด่นทางเทคโนโลยีอันสำคัญของ T-14 คือป้อมปืนที่หมุนรอบตัวชี้ปลายกระบอกปืนใหญ่เข้าหาเป้าหมายเองแบบอัตโนมัติ ใช้ระบบการป้อนกระสุนอัตโนมัติ และผู้บังคับนั่งบัญชาการอย่างปลอดภัยอยู่ในห้องแบบแคปซูลหุ้มเกราะแน่นหนาอยู่ทางด้านหน้าของรถถัง แยกออกไปจากห้องเก็บกระสุนปืนใหญ่ จรวด และวัตถุระเบิดต่าง ๆ 


ความเร็วต้นและความแรงที่ปากกระบอกปืน (Muzzle Velocity/Energy) ของปืน 125 มม.รุ่นใหม่ของ T-14 วัดค่าได้สูงกว่าของปืน 120 มม.โดยบริษัท Rheinmetall ที่ติดตั้งในรถถัง Leopard 2 ของเยอรมนี และในรถถัง TK-X รุ่นแรก ๆ ของญี่ปุ่นด้วย นอกจากนั้นก็ยังพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งโดยการติดเครื่องยนต์ขุมพลังใหม่ กลายเป็นรถถังหลักวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในขณะนี้


T-14 ยังหุ้มด้วยเกราะรุ่นแบบใหม่ทั้งแบบ Active และ Reactive ด้านนอกส่วนท้ายติดตั้งเกราะตะแกรงรุ่นใหม่ รับมือการโจมตีด้วยเครื่องยิงระเบิด RPG หรือจรวดขนาดเล็กทั่วไป ติดปืนใหญ่ขนาด 30 มม. อัตโนมัติที่สามารถยิงอากาศยานไร้การควบคุมที่บินระยะต่ำา ยิงเฮลิคอปเตอร์โจมตี รวมทั้ง
เครื่องบินข้าศึกได้ และยังมีปืนกลยิงเร็วอัตโนมัติ 12.7 มม. อีกกระบอกหนึ่งติดบนป้อมปืน สาหรับยิงทำลายจรวดหรือกระสุนของข้าศึกที่ยิงเข้าใส่


ระบบควบคุมการยิงของ T-14 ล้วนควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทาให้ปืนใหญ่ 125 มม. ที่ใช้อยู่ในรุ่นปัจจุบันมีระยะหวังผลถึง 5,000 เมตร และมีขีดความสามารถโจมตีเป้าหมายที่อยู่ไกลออกไปถึง 8,000 เมตร ความเร็วต้นกระสุนชนิด APFSDS คือ 1,980 เมตรต่อวินาที


พลประจำรถทั้งสามนายจะอยู่ในตัวรถถังด้านหน้าทั้งหมด ไม่ประจำอยู่ในป้อม โดยพลขับจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ พลยิงอยู่ตรงกลาง ส่วนผู้บัญชาการจะประจำอยู่ทางฝั่งขวามือ ระบบควบคุมภายในเกือบทั้งหมดเป็นแบบดิจิทัล

ภาพ: ระบบต่างๆที่ถูกติดตั้งไว้บนป้อมของ T-14 Armata
ที่มา : http://tapnewswire.com/2016/11/uk-military-shocked-by-russias-armata-revolutionary-tank/

T-14 Armata [«Армата» (Obyekt 148)] 

Type: Main Battle Tank
สัญชาติ: รัสเซีย
ประจำการ: -
ผู้ใช้งาน: กองทัพรัสเซีย
ผู้ออกแบบ: Ural Design Bureau of Transport Machine-Building, Uralvagonzavod
บริษัทผู้ผลิต: Uralvagonzavod
มูลค่า: ประมาณ 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
น้าหนัก: 48 ตัน
ความยาว: 10.8 เมตร
ความกว้าง: 3.5 เมตร
ความสูง: 3.3 เมตร
พลประจารถ: 3 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน และพลขับ)
เกราะ: 44S-sv-Sh, 900 mm vs APFSDS and 1400 vs HEAT. Internal armored capsule with more than 900 mm RHA equivalent, Malachit (4th generation ERA) can reduce penetration of APFSDS and HEAT rounds by at least 50%
อาวุธหลัก: ปืนใหญ่ลากล้องเกลี้ยง 2A82-1M ขนาด 125 มม. กระสุนจำนวน 45 นัด (32 นัดในระบบ Auto-loader) ในอนาคตอาจติดปืน 2A83 ขนาด 152 มม.
อาวุธรอง: ปืนกล Kord ขนาด 12.7 มม., ปืนกล PKMT ขนาด 7.62 มม.
เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ Diesel 1,500 - 2,000 แรงม้า กาลัง/น้าหนัก: 31 แรงม้า/ตัน
พิสัย: 500 กิโลเมตร ความเร็ว: 80 - 90 กม./ชม.
มุมกด: ไม่ทราบแน่ชัด
----

ภาพ: รายละเอียดของT-14ที่มีการวางแผนไว้
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=htBlFRFF7ec

[อาวุธยุทธภัณฑ์] 
              อาวุธหลัก ของ T-14 คือปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด 125 มม. 2A82-1M ซึ่งแทนที่ปืนใหญ่รุ่น 2A46 ของรัสเซียและโซเวียตก่อนหน้านี้ พลังงานปากกระบอกของปืน 2A82-1M ใหญ่กว่า Rheinmetall 120 mm ของเยอรมนีซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลก ปืนใหญ่ขนาด 125 มม.มีความแม่นยาดีขึ้น 15 - 20% และมีการกระจายการยิงเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าและไม่มีเครื่องดูดควัน (เนื่องจากภายในป้อมไม่มีพลประจารถ) อัตราการยิง 10 – 12 นัดต่อนาที ฝั่งซ้ายมีช่องถ่ายเทอากาศสาหรับเขม่าจากกระสุนและจรวด ATGM ปืนใหญ่ 2A82-1M สามารถยิงกระสุน APFSDS, มิสไซล์นาวิถี, Shaped-Charge และกระสุนชนิดอื่น ๆ ได้ กระสุน Vacuum-1 ถูกพัฒนาขึ้นสาหรับปืนใหญ่ 2A82-1M มีแกนเจาะเกราะ 900 มม. ซึ่งอ้างว่าสามารถทะลวงเกราะที่เทียบเท่า RHA 1 เมตรในระยะทาง 2 กิโลเมตรได้ กระสุน HE-Freg “Telnik” ซึ่งมีระบบควบคุมการระเบิดรุ่นใหม่ก็ได้รับเข้าประจาการ อีกทั้งยังมีความสามารถในการยิงขีปนาวุธนาวิถีอย่าง 9M119M1 Invar-M ที่มีผลตั้งแต่ 100 เมตรถึง 5 กิโลเมตร และใช้ยิงใส่เป้าหมายทางอากาศต่ำอย่างเฮลิคอปเตอร์ได้อีกด้วย อันเป็นคุณลักษณะแรกที่นำมาใช้กับรถถังของโซเวียตในทศวรรษที่ 1960 โดยมีการพัฒนา 3UBK21 Sprinter ATGM ขึ้น ซึ่งมิสไซล์ดังกล่าวมีไว้ใช้สาหรับการป้องกันทางอากาศและ ATGM ที่มีระยะหวังผลสูงสุดถึง 8 กิโลเมตร


ความแตกต่างระหว่างปืนใหญ่ลำกล้องเรียบแบบ 2A46M และ 2A82
ที่มา : https://www.quora.com/Whats-the-analysis-on-the-Russian-T-14-Armata-tank-How-does-it-compare-with-western-tanks-like-the-M-1-Abrams-Leopard-2-and-Challenger-2-It-seems-very-light-compared-with-current-generation-MBTs

Optical Sensor
มีระยะการตรวจจับไกลถึง 5 กิโลเมตรในช่วงเวลากลางวัน สาหรับเป้าหมายที่มีขนาดเท่ารถถังหรือยานเกราะทั่วไป และอย่างน้อยราว 3.5 กิโลเมตรในช่วงเวลากลางคืนด้วยกล้องสร้างภาพความร้อน (Thermal Imaging Channel) กล้องเล็งของพลยิงมีการซูมด้วย Optical Channel ในระดับ 4x และ 12x ส่วนเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ ในทางทฤษฎีแล้วสามารถทาได้สูงสุดถึง 7.5 กิโลเมตร นอกเหนือจากนี้ยังมีการลดระดับระบบที่สามซึ่งสามารถทาการยิงได้ในขณะที่ตัวรถกาลังเคลื่อนที่ และพลประจำรถสามารถใช้กล้องความละเอียดสูงที่หมุนได้รอบ 360 องศา


อาวุธรอง เป็นปืนกลขนาด 12.7 มม. Kord (GRAU index 6P49) จำนวน 300 นัด (ไม่พบในขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ) และปืนกลขนาด 7.62 มม. Pecheneg PKP (GRAU Index 6P41) หรือปืนกล PKTM (6P7K) จำนวน 1,000 นัด ซึ่งใช้ระบบรีโมทคอนโทรลในการควบคุม และมีการจัดเก็บกระสุนแยกไว้ต่างหากจำนวน 1,000 นัด ปืนกลขนาด 12.7 มม. ติดตั้งเหนือกล้องเล็งของผู้บัญชาการซึ่งอยู่บนหลังคาป้อมเพื่อไม่ให้กีดขวางทัศนวิสัย ในขณะที่ด้านหน้าของเครื่องป้อมมีช่องแปลกตา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีไว้สาหรับปืนร่วมแกนขนาด 7.62 มม. ป้อมของตัวรถถังอาจติดตั้งปืนขนาด 30 มม.ร่วมด้วย โดยใช้ต่อต้านเป้าหมายที่เป็นอากาศยานบินต่ำ เช่นเครื่องบินจู่โจมและเฮลิคอปเตอร์


ในอนาคต T-14 อาจจะได้ใช้ปืนใหญ่ขนาด 152 มม.รุ่น 2A83 แทนรุ่น 2A82 ปืนดังกล่าวถูกสร้างขึ้นประมาณปี 2000 สาหรับรถถังต้นแบบ T-95 ซึ่งกระสุน APFSDS มีความเร็วปากกระบอกปืนสูงถึง 1,980 เมตรต่อวินาที และลดความเร็วลงเพียง 1,900 เมตรต่อวินาทีในระยะ 2 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามเหล่าวิศวกรชาวรัสเซียก็คงขนาดปืน 125 มม.เอาไว้ โดยประเมินไว้ว่าการปรับปรุงกระสุนอาจเพียงพอต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ แม้จะสรุปออกมาได้ว่าลากล้องปืนที่มีขนาดใหญ่จะให้ประโยชน์ในทางปฏิบัติน้อยก็ตาม

T-14 สามารถใช้ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานได้ และปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 30 มม.อาจถูกนามาติดตั้งร่วมด้วยในอนาคตอันใกล้พร้อมกับปืนกลขนาด 12.7 มม.

ภาพ: ระบบ FCS หรือ fire control system ของรถถัง T-14 Armata
ที่มา : http://sturgeonshouse.ipbhost.com/topic/131-glorious-t-14-armata-pictures/?page=42

[ความคล่องตัว]
ระบบขับเคลื่อน ของรถถัง T-14 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ChTZ 12H360 (A-85-3A) ที่ให้กำลังขับเคลื่อนได้ถึง 1,500 แรงม้า และกำลังสูงสุดในเชิงทฤษฎี (ที่ไม่ได้ถูกใช้งานในยามปกติ) คือ 2,000 แรงม้า ต้นทุนของการลดอายุการใช้งานลดลงอย่างน้อย 2,000 ชั่วโมงที่ 1,500 แรงม้าเมื่อเทียบกับรถถังหลักคันอื่นที่ทันสมัย และในระดับสูงสุดถึง 10,000 ชั่วโมงที่ระดับ 1,200 แรงม้า เครื่องยนต์ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีพิสัยการปฏิบัติงานสูงสุด 500 กม. มีระบบเกียร์อัตโนมัติ 12 สปีด ความเร็วสูงสุด 80 - 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งคาดการณ์ว่าตัวส่งผ่านระบบนั้นน่าจะเป็นกระปุกเกียร์ Electronically Controlled Mechanical Gearbox ทำให้เกียร์เดินหน้าและถอยหลังมีระยะเท่ากัน (ในที่นี้ไม่แน่ใจว่าความเร็วในการเดินหน้า-ถอยหลังนั้นน่าจะเท่ากันหรือเปล่า) ซึ่งถือเป็นการออกแบบเฉพาะตัวของโซเวียต/รัสเซีย ตัวส่งผ่านที่รวมเข้ากับเครื่องยนต์ชุดเดี่ยวสามารถถอดเปลี่ยนได้ในสนามรบโดยใช้เวลาเพียง 30 นาที


T-14 มีตัวล้อขับเคลื่อนขนาด 700 มม.ข้างละ 7 ชิ้น มีพื้นฐานมาจากรุ่น T-80 ซึ่งไม่เหมือนกับรถถังของโซเวียตและรัสเซียรุ่นก่อนอย่าง T-90/80/72/64 สองล้อหน้าคือระบบช่วงล่างไฮดรอลิคอันมีพื้นฐานมาจากโช้คอัพแบบแขนก้าน (เคยแสดงให้เห็นในคลิปซ้อมเดินสวนสนามวันแห่งชัยชนะในปี 2015) ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มความสามารถของรถถัง ระบบ Active Suspension จะช่วยปรับค่าในระหว่างทำการล็อคเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก 2.2 หน่วย และลดระยะเวลาในการตรวจจับเป้าหมายรวมไปถึงลดแรงตอบสนองได้ถึง 31% ตัวรถถังมีน้ำหนักราว 48 ตันซึ่งง่ายต่อการขนส่งทางรถไฟหรือรถพ่วง มีการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และอายุการใช้งานของระบบเกียร์ และสามารถนำทางบนสะพานที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมั่นคงภายในประเทศได้ นอกจากนี้ยังสามารถขนย้าย T-14 จำนวนสองคันโดยมีพลรถประจาการพร้อม ๆ กันได้อย่างง่ายดายโดยเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ An-124 หรือ Ilyushin Il-76 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ PS-90 รุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น

ภาพ : เครื่อง A-85-3A ของรถถัง Armata
ที่มา : https://thaimilitaryandasianregion.files.wordpress.com/2017/02/p1330771.jpg


[การป้องกัน]
ห้องพลขับ พลประจำรถทั้งสามนายจะได้รับการป้องกันโดยแคปซูลหุ้มเกราะที่อยู่ตรงส่วนหน้าของตัวถัง มีความเทียบเท่า RHA ที่มากกว่า 900 มม. ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตจากการสังหารสูงขึ้น ทั้งตัวถังและตัวป้อมมีการติดตั้งชุดป้องกันด้วยเกราะ Malachit ซึ่งเป็น Explosive Reactive Armour แบบสองชนิด ระบบถูกติดตั้งตรงส่วนหน้า ด้านข้างและด้านบน ป้อมที่เป็นรูปทรงเหลี่ยมถูกออกแบบมาเพื่อลดการตรวจจับสัญญาณวิทยุและความร้อนจากศัตรู รถถังใช้ระบบควบคุมแบบผสมที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะตรวจสอบสถานะและหน้าที่ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ทั้งหมด ในระหว่างทำการรบ ตัวโปรแกรมสามารถวิเคราะห์ภัยคุกคามที่เข้ามา จากนั้นจะทำการแนะนำหรือดำเนินการโดยอัติโนมัติเพื่อต่อต้านการโจมตี นอกเหนือจากนี้ยังสามารถตรวจจับหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของพลรถได้อีกด้วย ซึ่งในการสร้างชุดเกราะแบบเซรามิคของ Armata Platform ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางปี 2015


ภาพ : ข้อมูลรายละเอียดพร้อมแผนผังการวางแคปซูลห้องคนขับขอบ T-14
ที่มา : https://www.offiziere.ch/?p=30851

ระบบป้องกันเชิงรุก รถถังคันนี้มีระบบการป้องกันเชิงรุก (Active Protection System) ที่ชื่อว่า Afghanit (ภาษารัสเซีย: Афганит) รวมถึงเรดาร์แบบ Millimeter-Wave ในการตรวจจับ, ติดตาม และสกัดกั้นอาวุธต่อต้านรถถังที่กำลังพุ่งเข้ามา รวมถึงกระสุนพลังงานจลน์และหัวรบแบบ Tandem-Charges ความเร็วสูงสุดที่สามารถสกัดกั้นได้คือ 1,700 เมตรต่อวินาที (มัค 5.0) และคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตอาจเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3,000 เมตรต่อวินาที (มัค 8.8) ตามแหล่งที่มาของข่าวอ้างอิงว่า T-14 สามารถป้องกันได้ทุกรอบด้าน แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากด้านบนหรือ Top-Attack ได้อยู่ดี


กระทรวงกลาโหมได้อัพเดทข้อมูลในเดือนพฤษภาคมปี 2015 คาดการณ์ว่าเซ็นเซอร์หลักของ Afghanit นั้นคือแผง 4 แผ่นที่ติดตั้งอยู่ด้านข้างของตัวป้อม ซึ่งน่าจะเป็นแผ่นเรดาร์ AESA ที่กระจายออกไปในมุมมอง 360 องศา และอาจมีอีกหนึ่งชิ้นตรงด้านบนป้อมปืน ชิ้นส่วนของระบบประกอบไปด้วย Hard Kill และ Soft Kill ระบบแรกมีหน้าที่สกัดกั้นขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามา (เช่นจรวดที่ไม่มีระบบชี้เป้า หรือกระสุนปืนใหญ่) ส่วนระบบที่สองนั้นจะทำให้ระบบชี้เป้าของ ATGM เกิดความสับสนและสูญเสียความสามารถในการล็อคเป้าหมาย พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันน่าจะมีผลกับ ATGM รุ่นที่ 3 กับรุ่นที่ 4 เช่น Hellfire, TOW, BILL, Javelin, Spike, Brimstone และมิสไซล์จากอากาศสู่ภาคพื้นดิน รวมไปถึง Sensor-Fused Weapons (SFW)


แหล่งข้อมูลของรัสเซียอ้างอิงว่า Hard Kill APS นั้นจะยังทำงานได้ดีแม้จะมีการใช้กระสุน APFSDS แบบแกนยูเรเนียมเสื่อมสภาพ(DU : Deplate Uranium) ที่มีความเร็วสูงถึง 1.5 – 2 กิโลเมตรต่อวินาทีก็ตาม ในขณะที่หลายคนยังมีข้อกังขา และกล่าวว่าการระเบิดแบบกระจายตัวนั้นน่าจะหยุดยั้งพลังงานของกระสุนเจาะเกราะที่มีความหนาแน่นได้ไม่มากเท่าไหร่นัก และอาจยังมีวิธีอื่นในการทำลาย T-14 โดยใช้วิธีโจมตีแบบ Hit-to-Kill แต่ตามแหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่ามีการทดสอบภาคปฏิบัติ และมีข้อยืนยันถึงการทำลายกระสุนปืนกลยูเรเนียม (ซึ่งเป้าหมายมีความเร็วสูงถึง 2 กม. / วินาที) แต่ถึงกระนั้นตามนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงสงสัยถึงความสำเร็จในการทดสอบที่ยังไม่ได้รับการยืนยันแน่ชัด รวมถึงไม่มีการสาธิตขีดความสามารถของมันอย่างเป็นทางการ


Afghanit Hard-Kill launchers หรือเครื่องยิงหัวระเบิด มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวซึ่งติดตั้งอยู่ระหว่างด้านข้างป้อมปืนกับตัวถังทั้งซ้ายขวาชุดละ 5 ลูก นักวิเคราะห์หลายท่านคาดเดาว่าหัวรบที่ใช้น่าจะเป็นแบบระเบิดกระจายแรงสูง (High-explosive Fragmentation Charge) และติดตั้งการป้องกัน NII Stali Upper Hemisphere Protection Complex เอาไว้


[เสียงตอบรับและประวัติของ T-14 Armata] 

เดือนกรกฎาคมปี 2015 รองผู้อานวยการบริษัทผลิตรถถัง Uralvagonzavod อ้างว่า T-14 นั้นยากต่อการถูกตรวจจับจากเรดาร์และอินฟราเรดเนื่องจากมีสีเป็นตัวดูดซับ อีกทั้งตำแหน่งของชิ้นส่วนที่มีการปล่อยสัญญาณความร้อนก็อยู่ภายในส่วนลึกของตัวรถถังด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญยานเกราะทั้งฝ่ายรัสเซียและสหรัฐยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้ออ้างดังกล่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ


เจ้าหน้าที่อาวุโสชาวอเมริกันซึ่งเกษียณอายุราชการกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีตรวจจับความร้อนที่ทันสมัยสามารถตรวจจับสิ่งต่าง ๆ เช่นการเคลื่อนไหวของยานพาหนะ, การยิงอาวุธ, พลประจำรถ หรือ
แม้กระทั่งไอเสียของเครื่องยนต์ที่สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุขนาด 50 ตันได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตำแหน่งชิ้นส่วนที่ปล่อยความร้อนออกมา ส่วนนักวิเคราะห์ท่านอื่นได้ชี้แจงว่าเทคโนโลยี Stealth ในประเทศรัสเซียส่วนใหญ่ล้วนเป็นเครื่องบินที่ลดค่าหน้าตัดเรดาร์หรือ RCS (Radar Cross Section) จากการตรวจจับทางอากาศหรือภาคพื้นดิน และได้นำมาใช้กับยานเกราะภาคพื้นดินเพื่อลดการถูกตรวจจับจากอากาศสู่พื้น

แม้ว่า T-14 Armata ของรัสเซียจะได้รับการยกย่องว่าเป็นรถถังหลักที่ทันสมัยที่สุดในขณะนี้ แต่ส่วนประกอบบางชิ้นอาจจะได้ไม่ถูกสร้างขึ้นภายในประเทศ นักวิเคราะห์จาก Cybersecurity ระบุว่าอุตสาหกรรมของรัสเซียมีปัญหาในการผลิตส่วนประกอบที่สาคัญของระบบ Night-Vision ซึ่งถือเป็นข้อมาตรฐานสาคัญสาหรับรถถังหลัก และมีความพยายามที่จะซื้อชิ้นส่วนจากตะวันตกหรือจีนในช่วงอดีตที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าส่วนประกอบดั้งเดิมของ T-14 บางชิ้นอาจเกิดขึ้นนอกประเทศ และอาจเป็นเรื่องยากในการผลิตเนื่องจากนโยบายการคว่าบาตรที่มีผลต่อรัสเซีย ในกรณีที่รัสเซียได้เข้าไปพัวพันแทรกแซงไครเมียและยูเครนทางตะวันออก


T-14 ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในงานสวนสนามวันแห่งชัยชนะในมอสโควปี 2015 ระหว่างการฝึกซ้อมรถถังคันหนึ่งได้หยุดเคลื่อนไหว และหลังจากล้มเหลวในความพยายามที่จะชักลากจูงประมาณ 15 นาทีก็พบสาเหตุสาคัญคือไม่ได้ปลดเบรคมือ ก่อนจะทำการแก้ไขปัญหาและเคลื่อนตัวต่อไปได้ ทั้งนี้ตัวพลขับเองก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์กับรถถัง T-14 ด้วย

สหพันธรัฐรัสเซียคาดการณ์ไว้ว่าจะสั่งซื้อ T-14 จำนวน 2,300 คันและส่งมอบภายในปี 2020 ในปี 2014 สื่อของรัสเซียได้ประกาศว่ามีการจัดส่งรถถังจำนวน 20 คันโดยไม่ทราบถึงแหล่งที่มา และมีอย่างน้อย 7 คันที่เข้าร่วมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะในปี 2015 – 2018

แต่ในปี 2016 กระทรวงกลาโหมของรัสเซียประกาศว่าได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้าง “รถถังรุ่นทดสอบ” (Test Batch) จานวน 100 คันในปี 2020 โดยโครงการจะคงดาเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงปี 2025 อย่างไรก็ตามเรื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ ทาให้ T-14 Armata ไม่สามารถกลายเป็น Mass Product ได้ ซึ่งในเดือนกรกฎาคม รองนายกรัฐมนตรี Yury Borisov กล่าวว่ารถถัง T-14 Armata มีราคาค่อนข้างแพงและไม่มีความจาเป็นต้องผลิตออกมาในจานวนมาก อีกทั้ง T-72 ที่มีอยู่ยังคงเป็นที่ต้องการและยังมีประสิทธิภาพในการใช้งาน


T-14 Armata อาจเป็นรถถังหลัก Next-Generation ชุดแรกที่จะเข้าสู่สายการผลิต ซึ่งมันก็ได้สร้างความกังวลให้แก่กองทัพตะวันตกอยู่บ้าง และหน่วยสืบราชการลับอังกฤษมองว่าป้อมไร้พลขับนั้นอาจ
มีข้อได้เปรียบในหลายประการ อย่างไรก็ตามผู้สังเกตการณ์ชาวตะวันตกมีความเห็นว่ารัสเซียมีความสามารถในการซื้อรถถังสมัยใหม่เช่น T-90 และ T-14 ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้ German Rheinmetall AG จึงพัฒนาปืนใหญ่ลำกล้องเรียบรุ่นใหม่ขนาด 130 มม. L/51 โดยอ้างว่ามีการเจาะเกราะเพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปืนขนาด 120 มม. L/55 เยอรมนีและฝรั่งเศสได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบต่อสู้พื้นดิน "Main Ground Combat System" (MGCS) เพื่อแข่งขันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของ Armata พร้อมทั้งจะนามาใช้งานแทน Leclerc และ Leopard 2 ประมาณปี 2030


ต่อมา หลังจากที่บริษัท Uralvagonzavod เสนอโครงการอัพเกรดรถถัง T-72 รุ่นใหม่ให้กระทรวงกลาโหมรัสเซีย ในวันที่ 30 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2018 ทางรัสเซียก็ได้ออกมาประกาศว่า รัสเซียนั้นไม่มีงบพอที่จะ mass product รถถัง T-14 Armata ซึ่งมีราคาแพง จึงหันไปพิจารณาตัวเลือกที่ใช้งบประมาณน้อยกว่าและมีความสามารถมาประจาการแทน T-14 ตามที่วางแผนไว้ คือการอัพเกรดรถถัง T-72 นั่นเอง และเหตุนี้จึงทาให้ T-14 ซึ่งเป็น Mass Product ต้องถูกยกเลิก และคาดว่าน่าจะผลิตออกมาได้จานวนสูงสุดแค่ 100 คันเท่านั้น


[ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน] 
by. Aekkaphop Chakkrawanphaisan

T-14 Armata ถือเป็นรถถังหลักที่ทันสมัยที่สุดในขณะนี้ แต่ก็อาจจะมีคนสงสัยว่า หากนา M1A2 SEP v3 มาประชัน ใครจะเป็นผู้ชนะและใครจะเหนือกว่ากัน


นักวิเคราะห์ท่านหนึ่งกล่าวว่า แม้ด้านหน้าตัวถังของ T-14 จะมีความหนาประมาณ 1,000 มม. แต่ป้อมไร้พลขับนั้นกลับไม่ได้หนาอย่างที่คนเข้าใจ บวกกับการบรรจุกระสุนรอบวงแหวนระหว่างป้อมกับตัวถัง ดังนั้นหากทาการยิงที่ซอกคอระหว่างนั้น หรือใช้ ATGM ยัดเข้าไปก็อาจทำให้ป้อมบินได้ตามสไตล์รัสเซีย อีกทั้งกระสุนที่ M1A2 SEP v3 ใช้ปัจจุบันมีค่าเจาะเกราะที่สูงมาก ก็อาจจะยิงเข้าส่วนหน้าของตัวรถเข้าได้ในระยะ 2 กิโลเมตร (แต่จะเข้ามากเข้าน้อยก็ขึ้นอยู่กับมุมองศาที่ปะทะกับ ERA ซึ่งติดซ้อนทับอีกที) อย่างไรก็ตามการออกแบบ T-14 ของรัสเซียในปัจจุบันนี้ บ่งบอกได้ว่าพวกเขาได้รับรู้ถึงข้อเสียสำคัญและนำมาปรับใช้ ทำให้พลประจำรถมีโอกาสรอดจากการถูกสังหารมากขึ้น


ในทางกลับกัน M1A2 SEP v3 เองก็มีเกราะหน้าที่หนาประมาณ 900 มม. (ซึ่งข้อมูลที่แท้จริงอาจจะหนามากกว่านี้ก็ได้) หากเจอกระสุน Vacuum-1 ของรัสเซียที่มีค่าเจาะสูง 1,000 มม. ก็อาจมีสิทธิ์ยิงเข้าด้านหน้าได้ในระยะ 2 กิโลเมตรเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น M1A2 SEP v3 ขึ้นชื่อเรื่องความหนาของ
เกราะ ดังนั้นโอกาสที่จะยิงเข้าทั้งสองฝ่ายในระยะไกลขณะหันหน้าตรงอยู่ที่ 50 – 50 โชคดีที่ T-14 Armata มีระยะการตรวจจับที่ค่อนข้างดีในเวลากลางวันถึง 7.5 กิโลเมตร หากใช้ระยะห่างและการตรวจจับให้เป็นประโยชน์ก็อาจจะต่อต้าน M1A2 SEP v3 ได้


ดังนั้นข้อสรุปก็คือ M1A2 SEP v3 ยังมีโอกาสโค่นล้ม T-14 Armata ได้ ในทางกลับกัน T-14 Armata เองก็มีสิทธิ์โค่นล้ม M1A2 SEP v3 ได้เช่นกัน (เอารุ่นตัวท็อปทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบกันก็คงจะสมน้าสมเนื้อที่สุดแล้วล่ะครับ) ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผน สถานการณ์ ทักษะฝีมือของพลรถและประสบการณ์เข้าช่วยด้วย... แต่ทางที่ดีอย่าให้สองคันนี้มาเจอกันในสนามรบเลย

ก็หวังว่าสักวันหนึ่ง T-14 Armata จะมีโอกาสกลับเข้าสู่ Mass Product อีกครั้ง

               ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความแปลฉบับนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ส่วนผู้ที่เป็นโปรรัสเซียจริง ๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านรถถัง หากมีจุดไหนที่อยากให้แก้หรือเสริมข้อมูลสามารถคอมเมนท์เพิ่มเติมได้เลยนะครับผม และเจอกันใหม่บทความหน้า Увидимся в следующий раз.

[อ้างอิง]
 http://www.military-today.com/tanks/armata.htm
 https://en.wikipedia.org/wiki/T-14_Armata
 https://thediplomat.com/2018/07/russia-will-not-mass-produce-5th-generation-stealth-fighter-jet/

เขียนโดย : Aekkaphop Chakkrawanphaisan 
เรียบเรียงและจัดทำโดย: Mighty mo









วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ตอนที่ 3 HMV-150 By Panus จากการสูญเสียสู่การพัฒนา

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ตอนที่ 3  HMV-150 By Panus จากการสูญเสียสู่การพัฒนา

HMV-150 หยาดน้ำตาจากความสูญเสีย สู่สุดยอดการปรับปรุงยานเกราะล้อยางของคนไทย
             HMV-150 หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นกับชื่อรหัสรถรุ่นนี้สักเท่าไร แต่หากพูดถึง V-150 แล้วล่ะก็ต้องถึงบางอ้อกันอย่างแน่นอน ซึ่งเจ้ายานเกราะ V-150 ตัวนี้นั่นก็เป็นยานเกราะที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกองทัพไทย และยังมีบางส่วนที่ได้ถูกส่งไปประจำการยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทำภารกิจลาดตระเวนและคุ้มกันชาวบ้าน และผู้บริสุทธิ์

HMV-150 By Panus

            ซึ่งการปฏิบัติการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั่นเองที่ทำให้เกิดการสูญเสียหลายครั้งขึ้น และก็ได้เกิดการสูญเสียครั้งสำคัญครั้งหนึ่งขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2555 หน่วยลาดตระเวนได้สูญเสีย จ.อ.อิศราวุธ พละศักดิ์ พลขับของยานเกราะ V-150 ที่โดนระเบิดแสวงเครื่องในถังก๊าซหุงต้มขนาด 50 กิโลกรัมไป ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้น นอกจากจะต้องสูญเสียทหารกล้าผู้ปกป้องผืนแผ่นดินไทยแล้ว ก็ยังต้องทำการปลดระวางยานเกราะ V-150 คันดังกล่าวแทบไปในทันที เนื่องด้วยแรงระเบิดของระเบิดขนาด 50 กิโลกรัมทำให้บริเวณตัวรถด้านหน้าเกิดความเสียหาย ตัวถังหน้าเกิดการฉีกออก และไม่สามารถซ่อมแซมกลับมาได้

สภาพ V-150 ที่โดนระเบิดแสวงเครื่องขนาด 50 กิโลกรัม

สภาพ V-150 ที่โดนระเบิดแสวงเครื่องขนาด 50 กิโลกรัม

สภาพ V-150 ที่โดนระเบิดแสวงเครื่องขนาด 50 กิโลกรัม

แต่ถึงกระนั้นทางหัวหน้าชุดรับผิดชอบหน่วยลาดตระเวน ณ ตอนนั้นก็ได้มองถึงเรื่องความต้องการยานเกราะที่จะสามารถทนแรงระเบิดได้ดีกว่านี้ มาเพื่อปกป้องกำลังพลของตนเอง จึงได้ทำการหาบริษัทที่สามารถทำยานเกราะที่มีความสามารถในการทำได้ ทางบริษัท Panus Assembly จึงได้เข้ามาเสนอ และขอนำเจ้า V-150 คันดังกล่าวไปทำการปรับปรุง และสร้างใหม่เป็น “HMV-150” และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างที่จะลืมพูดไปไม่ได้ก็คือ “โครงการนี้ Panus ทำให้ฟรี” ครับ

HMV-150 หลังเปิดตัว
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Battlefield Defense (สมรภูมิ)

            HMV-150 เป็นผลงานการปรับปรุงยานเกราะล้อยางรุ่น V-150 ซึ่งแค่เดิมนั้น V-150 ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Cadillac Gage ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งกองทัพไทยได้จัดหามาใช้งานทั้ง 3 เหล่าทัพมีจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 300 คัน ซึ่งการปรับปรุงเป็น HMV-150 นั้นจะเป็นการปรับปรุง V-150 ในส่วนของกองทัพเรือเพื่อนำไปใช้งานในภารกิจลาดตระเวนในอนาคต

            การปรับปรุงครั้งนี้นั้นมีความต้องการให้ V-150 นั้นมีความสามารถด้านการป้องกันในระดับเดียวกับ Phantom-380X-1 ซึ่งทางบริษัท Panus Assembly นั้นแทบจะเรียกได้ว่าออกแบบใหม่ขึ้นมาเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากการปรับปรุงให้เป็นเป็น HMV-150 นั้นมีองค์ประกอบทั้งโครงสร้างตัวถัง เครื่องยนต์ ระดับการป้องกันที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความสามารถด้านอื่นๆด้วยเช่นกัน โดยมีรายการอัพเกรดดังนี้

HMV-150 ทดสอบวิ่งอยู่ภายในบริเวณโรงงาน

ด้านตัวถัง
ทาง Panus ได้ทำการสร้างตัวถังใหม่ให้มีความยาวมากกว่าเดิมจาก 5.69 เมตร เป็น 6.5 เมตร ด้านความกว้างมากกว่าเดิมจาก แต่เดิมกว้าง 2.26 เมตร เป็น 2.5 เมตร

HMV-150 ขณะกำลังอยู่ในสนามทดสอบยานยนต์

ด้านเครื่องยนต์
ทาง Panus ได้ทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังทั้งหมดใหม่ครับ จากเดิมที่ใช้เครื่องยนต์ Chrysler361 แบบ 8 ลูกสูบ ให้กำลัง 250 แรงม้า เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ Cummins ISLe Euro3 แบบ 6 ลูกสูบ ให้กำลัง 350 แรงม้า ระบบส่งกำลัง Allison 4500 SP เกียร์อัตโนมัติ 6 ความเร็ว สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 110km/h

HMV-150 ทดสอบวิ่งอยู่ภายในบริเวณโรงงาน



HMV-150 โชว์ตัวที่สนามทดสอบยานยนต์

ด้านการป้องกัน
ตัวถังใหม่ของ HMV-150 นั้นมีความสามารถในการป้องกันที่สูงขึ้นด้วยระบบเกราะ 2 ชั้นที่มีความหนาด้านบนหลังคาและด้านข้างอยู่ที่ 12 มิลลิเมตร และมีความหนา 16 มิลลิเมตรที่ใต้ท้องรถ และตัวถังใหม่ยังมีการออกแบบให้เป็นทรง V-Shape เพื่อลดแรงปะทะของระเบิดด้วยครับ


เครื่องแรงรึป่าวไม่รู้ แต่ที่รู้ๆ ไต่สบายๆครับ
HMV-150 ขณะทำการทดสอบไต่ขึ้นเนินภายในสนามทดสอบยานยนต์

ในปัจจุบันทางนาวิกโยธิน ในสังกัดของกองทัพเรือทำการรับเจ้า HMV-150 นี่ไปทดสอบเรียบร้อยแล้วนะครับ


การปรับปรุง V-150 เป็น HMV-150 ในครั้งนี้นั้นถือว่าเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพเป็นอย่างดีเลยครับ และถือเป็นการพิสูจน์ให้ได้อย่างชัดเจนเลยว่า Panus Assembly ซึ่งเป็นบริษัทของคนที่ทำให้พื้นฐานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยก้านขึ้นมาในอีกระดับครับ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://pantip.com/topic/31856327
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa

และขอขอบคุณข้อมูลจากทางบริษัท Panus Assembly เป็นอย่างยิ่ง ที่คอยให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมตลอดมา 

http://www.panus.co.th/home





วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ตอนที่ 2 Phantom-380X By Panus

“ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” ตอนที่ 2 Phantom-380X By Panus

หลังจากคราวที่แล้วเราพูดถึงตัวบริษัท Panus Assembly ไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ทางเพจจะขอนำเสนอในส่วนของผลงานของทางบริษัทที่ได้รับการจัดหาไปเพื่อใช้งานจริงของกองทัพนะครับ

            ผลงานที่ทางบริษัท Punus Assembly ได้รับการจัดหาเพื่อไปเข้าประจำการในกองทัพไทยนั้นก็คือ ยานเกราะล้อยางป้องกันระเบิด หรือ MRAP (Mine Resistant Ambush Protected) ในรุ่น Phantom-380X

Phantom-380X อันบึกบึน
            ซึ่งเจ้า Phantom-380X ตัวนี้นั้นได้รับโอกาสจากทางกองทัพเรือในการถูกนำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็นการนำไปใช้โดยหน่วยงานของ นาวิกโยธินสังกัด กองทัพเรือของไทย ในภารกิจลาดตระเวนและป้องกันบุคคลสำคัญในการเดินทางใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

Phantom-380X จอดคู่กับรุ่นพี่ประจำภาคใต้อย่าง REVA 
คุณลักษณะที่สำคัญของเจ้า Phantom-380X
เครื่องยนต์ : Cummins 380 Euro3 แบบ 6 ลูกสูบ ขนาดแรงขับ 380 Shp Turbo
               Torque เครื่องยนต์ 1835 NMที่ 1200 RPM
น้ำหนักตัวรถ : 18 ตัน
ระบบขับเคลื่อน : 4X4 ล้อ
ความจุเครื่องยนต์ :  10.8 ลิตร
ระบบป้องกันตัวรถมาตรฐาน : NATO Stanag4569 Level 4B

Phantom-380X จอดโชว์ตัวที่ จ.นราธิวาส
            โดยในตอนแรกที่เจ้า Phantom-380X นั้นได้เปิดเผยตัวต่อสาธารณะชนคือในปี 2558 หลังจากนั้นจึงมีการนำรถไปทดสอบการใช้งานจริงที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และช่วงก่อนหน้านั้นได้มีการทดสอบสมรรถนะตัวรถเบื้องต้นที่สนามทดสอบรถยนต์ทางทหารไปเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้พบกับปัญหาในตัวเจ้า Phantom-380X ในบางเรื่องเช่น เรื่องการโยกเยกของตัวรถอันเกิดมาจากการวางฐานล้อที่กว้างเกินไป จึงทำให้มีการปรับปรุงจนเกิดเป็นรุ่นต่อยอดขึ้นคือ Phantom-380X-1 ซึ่งคุณลักษณะของตัวรถโดยทั่วไปนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ในส่วนของการระบบช่วงล่างและตัวถังนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนไปจากตัวเดิมคือ ปรับปรุงจากจุดด้อยของรุ่นแรก ทั้งในเรื่องขนาดของตัวถังที่ปรับให้สั้นลง เปลี่ยนกระจังหน้าใหม่ ช่องหน้าต่างบานใหญ่ รวมถึงแผ่นเหล็กที่ติดข้างหน้า นอกจากช่วยในการทำลายสิ่งกีดขวางแล้ว มีทีเด็ด ยังช่วยยกตัวรถด้านหน้า เวลาจะเปลี่ยนล้อ และยกหลังด้วยประตูหลังไฮดรอลิก สำหรับล้อหลัง ด้วยครับ

ภาพการทดสอบเจ้า Phantom-380X
 
Phantom-380X-1 รุ่นปรับปรุงจาก Phantom-380X
โดยมีการปรับเพิ่มคุณลักษณะหลายอย่างเข้าไปอย่างเห็นได้ชัด

นี่แหละครับคือข้อพิสูจน์ว่าสำคัญว่าคนไทยก็สามารถทำได้เช่น แต่เราต้องรู้ว่าเราถนัดอะไร และทำอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันนี้รถเหล่านี้ก็ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อคอยพิทักษ์และรักษาเหล่าทหารกล้าของเราต่อไปครับ และในอนาคตจะต้องมีการจัดหารถเหล่านี้เพิ่มเติมแน่นอนครับ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://pantip.com/topic/31856327
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa

และขอขอบคุณข้อมูลจากทางบริษัท Panus Assembly เป็นอย่างยิ่ง
http://www.panus.co.th/home



สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1 BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1   BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ BrahMos                  Brah...