เรื่องเล่าของอดีต
ตอนที่ 1 :
รล.สิมิลัน ต้นแบบเรือส่งกำลังอเนกประสงค์ของกองเรือจีน (PLAN
: People Liberation’s Army Navy)
รล.สิมิลัน
เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทยนั้น เป็นเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ แบบ Multi
Replenishment แบบแรกของกองทัพเรือไทย ซึ่งถือเป็น 1 ใน
รล.ที่เป็นม้างานหลักของกองทัพเรือในด้านการส่งกำลังบำรุงกองเรือ
และบรรเทาสาธารณะภัย ซึ่งได้ได้ปฏิบัติภารกิจมาอย่างยาวนานนับตั้งปี พ.ศ. 2539
แต่นอกจากนี้แล้วนั้น ยังทราบไหมว่า
ความจริงแล้ว รล.สิมิลันถือเป็นต้นแบบเรือส่งกำลังบำรุงแบบ Multi
Replenishment ให้กับกองเรือจีนเลยก็ว่าได้
![]() |
ภาพประกอบ
:
รล.สิมิลัน ขณะเทียบท่าที่ท่าเรือจุกเสม็ด
|
ในช่วงปี
พ.ศ. 2536 จีนมีความต้องการพัฒนากองเรือส่งกำลังบำรุงยุคที่ 2 (2nd
Generation) ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขั้น
เนื่องจากกองเรือส่งกำลังบำรุงของจีนในยุคที่ 1 (1st Generation) นั้นยังเป็นเพียงเรือส่งกำลังบำรุงที่สามารถทำการส่งกำลังบำรุงได้เฉพาะน้ำมันและของเหลวเท่านั้น ซึ่งทำให้จีนตั้งโครงการ
พัฒนากองเรือส่งกำลังบำรุงยุคที่ 2 (2nd Generation) ขึ้น แต่ตัวโครงการกลับพบกับปัญหาและอุปสรรค์มากมาย
ทั้งเรื่องการวางระบบควบคุมไฟ ระบบดับเพลิงที่มีความซับซ้อนมากกว่าเมื่อเทียบกับเรือยุคแรก
เพราะในเรือยุคที่ 2 ของจีนนั้น จีนต้องการให้เรือมีความสามารถแบบ Multi
Replenishment ทำให้มีความยุ่งยากในการออกแบบ
เพราะทางจีนไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนเลย
และสุดท้ายโครงการพัฒนากองเรือส่งกำลังบำรุงยุคที่ 2 (2nd Generation) ของจีนที่มี Mr. Zhang Wende (张文德) หัวหน้าสถาบันออกแบบที่ 701 ของ CSIC (China State International
Company) เป็นผู้ดูแล ได้ถูกยกเลิกลงไป
![]() |
ภาพประกอบ
:
เรือส่งกำลังบำรุงของจีน Type 903
หมายเลขเรือ 887 微山湖 / Weishanhu |
แต่โอกาสของจีนก็กลับมามีความหวังอีกครั้ง เมื่อตอนเดือนมกราคม ปี 2536 ทางกองทัพเรือไทยได้ส่ง
RFP
เพื่อหาผู้ต่อเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ หรือก็คือโครงการจัดหา
รล.สิมิลันนั่นเอง ทำให้ทางสถาบันออกแบบที่ 701
ได้ทำการติดต่อกับทางรัฐบาลจีนเพื่อขอให้เข้าร่วมการแข่งขันในการต่อเรือในครั้งนั้นและในที่สุดก็ได้เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหา
รล.สิมิลัน ไปนั่นเอง ซึ่งผลจากการที่ทางจีนได้รับเลือกเป็นผู้ชนะในครั้งนี้ทำให้จีน
ต้องงัดทุกประสบการณ์ที่จีนเคยทำเรือทั้งหมดมายัดรวมกันเพื่อออกแบบเป็น รล.สิมิลัน
เพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดของทาง กองทัพเรือไทย
ซึ่งสิ่งที่ทำให้จีนได้ประสบการณ์มากที่ก็คือการที่ทางกองทัพเรือไทย ได้กำหนดคุณลักษณะของ
รล.สิมิลันให้เป็นแบบเดียวกับมาตรฐานของแบบเรือจากทางตะวันตกและได้มีการเข้าไปทำการปรับปรุงแบบและตรวจรับ
ทำให้ตัวเรือและการออกแบบนั้นถือว่าทำให้ทางจีนนั้นได้รับประสบการณ์ด้านการต่อเรือแบบตะวันตกไปแบบเต็มสูบกันเลยทีเดียว
![]() |
ภาพประกอบ
:
เรือส่งกำลังบำรุงของจีน Type 903A
หมายเลขเรือ 889 太湖 / Taihu |
และสิ่งที่พิเศษขั้นกว่าของ รล.สิมิลันนั้นคือการที่
Mr.
Zhang Wende (张文德)
หัวหน้าสถาบันออกแบบที่ 701 ของ CSIC (China State International Company) ได้ทำการล่องเรือแบบส่วนตัวมากับ
รล.สิมิลันมาเพื่อส่งมอบเรือให้กับทางกองทัพเรือด้วยต้นเอง เนื่องจาก
รล.สิมิลันนั้นถือว่าเป็นเรือที่ช่วยนำทางการต่อเรือส่งกำลังบำรุงยุคใหม่ให้กับกองทัพเรือจีนเลยทีเดียว
และหลังจากที่ทาง CSIC
ได้ต่อเรือ รล.สิมิลันแล้วนั้น
จึงนำประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากการต่อเรือในครั้งนี้
ไปใช้เป็นต้นแบบในการต่อเรือส่งกำลังบำรุงที่เป็นมาตรฐานเรือส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือจีนอย่าง
Type 903 replenishment ship ต่อไป
จึงถือว่า
รล.สิมิลันเป็นเรือต้นแบบที่สำคัญในการช่วยกองทัพเรือจีนในการพัฒนาเรือส่งกำลังบำรุงของจีนอย่างไม่ต้องสงสัยกันเลยทีเดียว
![]() |
ภาพประกอบ : รล.สิมิลัน |
http://www.haijun360.com/news/BGJ/2011/629/116292139502F96ED1G7319DG53D3FH.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Type_908_replenishment_ship
https://www.globalsecurity.org/military/world/china/nancang.htm
https://web.archive.org/web/20070320001357/http://www.sinodefence.com/navy/support/nancang.asp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น