วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ตอนที่ 1 Panus Assembly

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน วันนี้จึงขอกลับมาจัดเต็มกันอีกครั้งกับบทความเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยี

วันนี้จะขอนำเสนอบทความแรกในธีม “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” กันนะครับ

ตอนที่ 1 Panus Assembly 

           ในตอนแรกนนี้นั้นจะขอนำเสนอบริษัทแรกของคนไทยที่ ถ้าพูดถึงการส่งขนทางบกของไทยต้องนึกถึงบริษัทนี้เลยครับ ซึ่งบริษัทนั้นก็คือ “Panus Assembly” นั้นเอง!!!!



บริษัท Panus Assembly นั้นหรือชื่อในไทยที่คุ้นเคยกันง่ายๆ คือ บริษัท พนัส นั่นเองครับ
บริษัท พนัสเริ่มก่อตั้งในปี 1969 หรือเมื่อ 46 ปีก่อนนั่นเอง โดยในช่วงเริ่มก่อตั้งบริษัทนั้นทาง พนัส เริ่มด้วยการนำไม้มาต่อประกอบเป็นรถกระบะบรรทุกหกล้อ และสิบล้อ เพื่อใช้บรรทุกข้าว และสินค้าทางการเกษตร โดยใช้ไม้มะค่าทำเป็นกระบะข้างเพราะมีความคงทนและสวยงาม ส่วนไม้ประดู่ใช้ทำคานรถเพราะมีความเหนียวและแข็งแรง (ลอกแบบจากเกวียนสมัยก่อน) ซึ่งทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทผลิตรถพ่วงที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงยังสามารถส่งออกไปยังหลายประเทศทั้งใน ASEAN และยังสามารถส่งออกอีกหลายผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศอีกหลายประเทศด้วยเช่นกัน




        แต่บางคนอาจจะงงหน่อยๆว่าแล้วยังไงล่ะ เค้าก็ทำเกี่ยวกับพวกนี้ก็ไม่แปลกนี่ ยังครับยัง ผมยังอธิบายไม่หมด นอกจากที่ทางพนัสจะเน้นการทำรถพ่วง รถดั้มพ์เป็นหลักเพื่อป้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมขนส่งแล้วนั้น ทางพนัสยังสามารถทำรถลากเครื่องบินเพื่อใช้สำหรับภารกิจ GSE (Ground Support Equipment) เพื่อใช้สำหรับการสนับสนุนภาคพื้นดินของอากาศยาน 

โดยมีผลงานด้าน GSE ดังนี้

-รถดันและลากจูงอากาศยาน / Aircraft Towing Tractor for Airbus 380
-รถบันไดสำหรับผู้โดยสาร  (Self-Propelled and Towed Able Passenger Stair)
-รถลำเลียงอาหาร (Catering Truck)
-รถสายพานลำเลียงสัมภาระและสินค้า (Self-Propelled and Towed Able Conveyor Belt Loader)
-รถน้ำดื่ม (Potable Water Truck)
-รถถ่ายสิ่งปฏิกูล (Lavatory Truck)
-รถลำเลียงสัมภาระและสินค้า (Baggage and Cargo Cart)



            ร่วมเป็นพันธมิตรกับต่างประเทศ โดยร่วมพัฒนาและผลิตรถลากเครื่องบินในนามของบริษัท Bliss Fox จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ในการให้บริการขนส่งแก่สายการบินต่างๆ ในสนามบินหลายแห่งทั่วโลก เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์, แควนตัส,เจแปนแอร์ไลน์, บริติชแอร์เวย์,แอร์เอเชีย,ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ ฯลฯ

GSE ที่ทางพนัสทำร่วมกับ Bliss Fox 


GSE ที่ทางพนัสทำร่วมกับ Bliss Fox 

                รวมทั้งสายการบินต่างๆ อย่าง การบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ในสนามบินสุวรรณภูมิด้วยและในปี 2550 ได้ผลิตรถลากเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับลากเครื่องบินลำใหญ่ที่สุดในโลกเที่ยวบินแรก คือ แอร์บัส เอ 380 ของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ที่สนามบินซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย


GSE ของพนัสที่ถูกจัดหาไปใช้งานโดย สายการบิน AirAsia X

               นี่ก็ถือว่าเป็นการก้าวที่ยิ่งใหญ่ของเอกชนไทยแล้วนะครับ แต่ยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้เมื่อทาง Panus Assembly ได้เริ่มเข้ามามีส่วนในการซ่อมบำรุง คืนสภาพรถสงครามตราอักษร Pegazo ให้กับหน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือและหน่วยปืนใหญ่นาวิกโยธิน กองทัพเรือ ซึ่งถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญที่พา พนัส ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมทางทหารอย่างไม่ทันตั้งตัว หลังจากเวลาผ่านไป 12 หลังจากการที่ พนัสได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมทางทหารก็ได้ให้กำเนิด รถหุ้มเกราะล้อยางแบบ MRAP รุ่น Phantom-380X ที่ถูกออกแบบโดยบริษัท D-Corp Asia ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยและดำเนินการผลิตโดย Panus Assembly ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยเช่นเดียวกัน  โดยที่ตัวรถนั้นออกแบบมาให้สามารถกันระเบิดใน Level 4A ได้ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นอีกก้าวสำคัญของ Panus Assembly ที่เริ่มผลิตยานเกราะป้อนให้กองทัพภายในประเทศ ซึ่งหน่วยงานแรกที่รับไปใช้งานทดสอบคือ หน่วยนาวิกโยธิน สังกัดกองทัพเรือ โดยนำไปใช้งานเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้ในภารกิจลาดตระเวนซึ่งคอยระมัดระวัง IED หรือ ระเบิดแสวงเครื่องดังนั้นการนำรถแบบดังกล่าวลงไปใช้ถือเป็นการคุ้มครองกำลังพลที่ดีเลยล่ะครับ


Phantom-380X-1


คุณลักษะเบื้องต้นของ Phantom-380X-1 

และยังไม่ได้หมดเพียงแต่เท่านี้นะครับ ยังมีอีกโครงการที่สำคัญที่ทางพนัสได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือเจ้าเดิมคือ การปรับปรุงรถหุ้มเกราะแบบ V-150 มาทำการปรับปรุงใหม่โดยได้มีการออกแบบโครงสร้างใหม่ให้มีความแข็งแรงและสะดวกสบาย มีพื้นที่ใช้งานภายในกว้างขวาง บรรทุกทหารได้รวม 10 นาย ติดแอร์ ตัวรถ HMV-150 มีน้ำหนัก 16 ตัน มีความยาว 6.5 เมตร ความกว้าง 2.5 เมตรโครงสร้างเป็นแบบ 2 ชั้น ตรงกลางฉีดโฟม เกราะด้านข้างและด้านบนหลังคาหนา 12 มม. ส่วนใต้ท้องหนา 16 มม. ทำให้ป้องกันการยิงจากรอบข้างและป้องกันแรงระเบิดได้ดี โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เป็นรุ่น Cummins isle +350 8.9 litres Euro 3 ให้กำลัง 350 แรงม้า ทำให้รถมีความเร็วสูงสุดถึง 110 กม./ชม. ระบบเกียร์แบบอัตโนมัติ Alison 4500 Shp 6 speed ระบบการหันเลี้ยวเป็นแบบ 4 ล้อ ทำให้ทำมีวงเลี้ยวแคบมาก ในเบื้องต้นใช้ป้อมเดิมใส่ไว้ แต่สามารถเปลี่ยนเป็นป้อมที่ทันสมัยควบคุมการยิงจากภายในตัวรถได้ จากการปรับปรุงรถ Commando V-150 ใหม่เป็นรุ่น HMV-150 ในครั้งนี้ ทำให้รถมีความเร็วและแรงเพิ่มขึ้น มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ ห้องโดยสารสบายขึ้น มีเกราะป้องกันที่หนาขึ้น กองทัพสามารถใช้งานรถรุ่นนี้ไปได้อีกนานหลายสิบปี โดยมีประสิทธิภาพ และขีดความสามารถเทียบเท่ารถหุ้มเกราะล้อยางที่ทันสมัยในปัจจุบัน อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณในการจัดหารถใหม่ ที่สำคัญคือเราสามารถดำเนินการสร้างได้เองในประเทศ ทำให้การส่งกำลังบำรุงรักษาซ่อมทำ มีความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตและโรงงานภายในประเทศอีกด้วย ที่สำคัญเหมาะสำหรับนำไปใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้คุ้มครองป้องกันชีวิติทหารได้เป็นอย่างดี


รถยนต์บรรทุกทางหทารที่ทาง พนัสเป็นผู้รับผิดชอบในการประกอบ


จะเห็นได้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเกิดจากฝีมือคนไทยทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งว่า เอกชนไทยสามารถผลิตยุทโธปกรณ์ดีๆป้อนให้กับกองทัพได้แล้ว และยังเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศรวมไปถึงการสร้างงานด้วยเช่นกัน
สุดท้ายนี้ทางเรายังมีรูปผลิตภัณฑ์ของทางพนัสมาให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยนะครับ โดยจะมีข้อมูลอยู่ใต้รูปด้วยนะครับ อย่าลืมเข้าไปกดดูกันนะครับ


ปล.อย่าลืมแชร์ไปให้คนไทยรู้ถึงความภูมิใจนี้ด้วยกันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://pantip.com/topic/31856327
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa

และขอขอบคุณข้อมูลจากทางบริษัท Panus Assembly เป็นอย่างยิ่ง
http://www.panus.co.th/home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1 BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ

สุดยอดอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคใหม่ ตอนที่ 1   BrahMos เจ้าพ่อความเร็ว แห่งวงการจมเรือ BrahMos                  Brah...